ไม่มีหมวดหมู่

การคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อฉีกหนีจากตลาด Red Ocean

เป็นที่ทราบในขณะนี้ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลกและระดับ-ประเทศมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงจนทำให้ราวกับว่า ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม ทำท่าเสมือนจะประหัตประหารกัน ทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ การตลาด และประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งนั้น ก็เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองทะยานขึ้นไปสู่เบอร์หนึ่ง ปรากฏการณ์เช่นนี้ หากมองในแง่ดี อาจเป็นไปได้ว่า การแข่งขันกันอย่างรุนแรงเช่นนี้ ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทโดยตรง ทั้งในเรื่องของรายได้และผลประกอบการ
แต่ ถ้ามองในแง่ร้าย การแข่งขันกันอย่างรุนแรงเช่นนี้ ไม่เพียงจะทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กถูกตัดตอน หากยังถูกลบเลือนหายไปจากตลาดด้วย ยิ่งถ้าบริษัทเหล่านั้นไม่มีเงินทุนพอ ตัวอย่างเหล่านี้มีให้เห็นในประเทศแถบยุโรป อเมริกา รวมถึงบางประเทศในทวีปเอเชีย ผลเช่นนี้เอง จึงทำให้บริษัทต่างๆ เหล่านั้นจึงบาดเจ็บ ล้มตาย หรือเลือดไม่ยอมหยุดไหลซึ่งภาษาอังกฤษเรียกการแข่งขันอย่างรุนแรงเช่นนี้ว่า “red ocean”


โดยปรากฏการณ์ “red ocean” ใช่จะเกิดแต่เฉพาะประเทศยักษ์ใหญ่เท่านั้น แต่ปรากฏการณ์ “red ocean” กำลังจะเกิดขึ้นกับกลุ่ม อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ในประเทศไทยด้วย เหตุนี้เอง จึงทำให้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “Strategic Thinking” การคิดเชิงกลยุทธ์ในการฉีกหนีจาก red ocean โดยมี “ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย” เป็นผู้บรรยาย
ซึ่ง เบื้องต้น “ธันยวัชร์” อธิบายถึงกรอบความคิดเก่าที่ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมตกอยู่ในวังวน สีเลือดว่า คนที่เป็นผู้บริหารระดับสูง หรือคนที่เป็นนักกลยุทธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพาองค์กรของตัวเองออกจาก วังวนสีเลือดนี้ให้ได้   “ไม่ เช่นนั้นจะทำให้ธุรกิจของตัวเองประสบปัญหา เพราะอย่างที่ทราบ ในตลาดที่มีการ แข่งขันกันอย่างรุนแรง ไม่ใช่ตลาดที่ใครจะลงไปเล่นได้ทุกคน เพราะคนที่เล่นในตลาดนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเงินทุน มีบุคลากรที่ดี และมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจ”
“ผมถึงมองว่า ในอีกตลาดหนึ่ง ซึ่งเป็นตลาดใหม่หรือ blue ocean ก็เป็นตลาดที่น่าสนใจไม่แพ้กัน และตลาดนี้ในปัจจุบันมีการพูดถึงประเทศในกลุ่ม BISC คือ บราซิล อินเดีย สิงคโปร์ และจีน กับอีกกลุ่มประเทศหนึ่งคือ TVT คือ ตุรกี เวียดนาม และไทย” “เพียง แต่ประเทศไทยในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกลุ่มตลาดใหม่ที่น่าสนใจอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากภาคการเมืองค่อนข้างประสบปัญหา จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติหันไปหาประเทศอื่นแทน” เหตุนี้เอง จึงทำให้ “ธันยวัชร์” มองว่า หากจะต้องคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อให้หนีจาก red ocean จริง ผู้บริหารระดับสูงหรือนักกลยุทธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง analytical mind หรือต้องเป็นคนช่างคิดมาตั้งแต่เกิด เพราะ คนที่เป็นผู้บริหาร หรือนักกลยุทธ์จะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ออก และจะต้องแยกย่อยปัญหาออกเป็นชิ้นๆ จากนั้นจึงค่อยไปทำความเข้าใจสาระสำคัญขององค์ประกอบนั้นๆ ก่อน ที่จะเขย่าออกมาเป็นก้อน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อองค์กรและพนักงานโดยรวม ที่สำคัญ นักกลยุทธ์จะต้องปะติดปะต่อภาพได้ และจะต้องหมั่นขบคิดหรือวิเคราะห์อยู่บ่อยๆ จึงจะทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาสมอง


นอก จากนั้น “ธันยวัชร์” ยังมองว่านักกลยุทธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้กว้างและรู้ลึกในสิ่งที่ตน เองมีความชำนาญ และสามารถนำมาประยุกต์ต่อได้ที่สำคัญ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือฝ่าย HR ก็จะต้องมูฟตัวเองเข้ามาช่วยนักกลยุทธ์ด้วย เพื่อที่จะพัฒนาบุคลากรและองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
นอก จากนั้น นักกลยุทธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักผู้เล่นและตัวละครที่อยู่ในกลุ่ม ธุรกิจต่างๆ ทั้งนั้นเพื่อรู้ภูมิหลัง ประวัติ และการเชื่อมต่อทางธุรกิจ ว่ามีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจกับใครบ้างเพราะในเกมธุรกิจ เรื่องเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเวลาเรามูฟธุรกิจ เพื่อไปสร้างธุรกิจใหม่ เราจะต้องเจอคู่แข่งคนใดบ้าง


ดังนั้น ถ้านักกลยุทธ์หรือผู้บริหารระดับสูงรู้ว่าในเกมธุรกิจนี้ ใครลงมาเป็นผู้เล่น เราก็จะประเมิน หรือวิเคราะห์สถานการณ์นั้นๆ ถูก และสามารถที่จะเดินไปในจังหวะที่ถูกต้องและถูกทางด้วย
“ธัน ยวัชร์” บอกว่า นอกจากเรื่องดังกล่าว นักกลยุทธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ทีมของคนที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ ด้วย ซึ่งเหมือนกับการต่อแผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งเราจะต้องรู้ก่อนว่าตัวเซอร์กิตแต่ละตัวเชื่อมไปสู่จุดใดบ้าง
เพราะเมื่อเรารู้ถึงการเชื่อมโยง นั่นเท่ากับเราจะรู้ว่าคู่แข่งมีสายสัมพันธ์กับใครบ้าง แต่ทั้งนั้นนักกลยุทธ์จะต้องมีความสามารถในการสังเคราะห์สถานการณ์ หรือการมองภาพรวมให้ออก เพื่อที่จะแยกตัวแปรต่างๆ ได้ สิ่งสำคัญอีกอย่าง นักกลยุทธ์จะต้องมีความไว ในขณะที่กำลังจับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือถ้าตัวละครเปลี่ยนไป ก็จะต้องรู้ว่า casual relation เปลี่ยนไปอย่างไร เพราะนักกลยุทธ์จะต้อง active ตลอด และจะต้องห้ามกะพริบตาจากตัวละคร มิเช่นนั้นเกมอาจพลิกได้เพราะคนที่เป็นนักกลยุทธ์จะต้องทำอย่างไรก็ได้เพื่อ ให้เกิดผลเลิศ หรือผลลัพธ์ และจะต้อง เตรียมทางออกเผื่อไว้บ้าง เพื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป


ในทางกลับกัน “ธันยวัชร์” มองว่า หากไม่ใช่เป็นนักกลยุทธ์ แต่เป็นกุนซือ หรือเป็นโค้ชชิ่งให้กับผู้บริหารระดับสูง คนที่เป็นกุนซือจะต้องเตรียมหาทางลงให้ “นาย” ด้วย ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เพราะอย่างที่ทราบ การคิดเชิงกลยุทธ์ในการฉีกหนีจาก red ocean นั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด วิเคราะห์ เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ได้ว่าเราจะแข่งกับใครแข่งแล้วชนะหรือไม่หรือแข่ง แล้วจะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จหรือเปล่าเพราะในสนามสงครามธุรกิจจริงๆ ไม่มีเพื่อน ไม่มีมิตรภาพ และไม่มีศัตรูถาวร แต่คนที่เป็นนักกลยุทธ์ หรือคนที่เป็นนักบริหารจะต้องประเมินสถานการณ์ตลอดเวลาและจะต้องตั้งพร้อม อยู่ในที่ลับหาไม่เช่นนั้น เราก็จะไม่สามารถออกไปแข่งขันในตลาด blue ocean ได้ เพราะตลาด blue ocean อย่างที่บอกเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจและไม่แต่เฉพาะประเทศในกลุ่ม BISC หรือ TVT เท่านั้น หากในหลายๆ ประเทศในละตินอเมริกา แอฟริกาใต้ ก็ล้วนเป็นตลาด blue ocean ที่หลายประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก


แต่ทั้งนั้น “ธันยวัชร์” ก็สรุปว่า เรื่องของจังหวะและเวลายังเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ คนที่ประสบความสำเร็จต้องรู้จักบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์ต้องรู้จักอดและรอ คอยซึ่งเหมือนกับตัวยิ่มในภาษาจีน ที่มีความหมายว่า “อดทน”
ดัง นั้น ถ้าฟ้าปิด นั่นหมายความถึงการซุ่มเตรียมความพร้อม แต่ถ้าฟ้าเปิดเมื่อไหร่ เราจะเป็นมังกรที่พร้อมจะทะยานขึ้นสู่ฟ้าทันทีในการคิดเชิงกลยุทธ์ในการฉีก หนีจาก red ocean ก็เช่นกัน เราจะต้องรู้จังหวะและเวลา และเมื่อจังหวะและเวลามาถึงเมื่อไหร่ เราก็พร้อมที่จะไปสู่ตลาด blue ocean ทันที

นี่แหละคือสิ่งที่นักกลยุทธ์สมัยนี้จำเป็นต้องมี ?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *