จดโดเมน Domain Name

บริการจดโดเมนจากบ้านทำเว็บ มีโดเมนเนมหลากหลาย ผู้ใช้งานสามารถเลือกทำการจดโดเมนได้ทั้ง .com, .net, .org และนามสุกลอื่นๆอีกมากมายที่เริ่มต้นแค่เพียง 450 บาทต่อปี

หลักการตั้งชื่อโดเมนเนม

หลักการตั้งชื่อโดเมนเนม www 인기글 ชื่อโดเมนสามารถใช้ได้เพียงตัวอักษร(A-Z)ตัวเลข(0-9)และสัญลักษณ์ขีดกลาง(–)ได้เท่านั้น 07044_exqe.gifหลักการของการจดโดเมน คือ ชื่อโดเมนควร สั้น กระชับ มีความหมายและง่ายต่อการจดจำ

โดเมนเนม คือชื่อที่ใช้เรียกแทนเว็บไซต์นั้นๆ โดยชื่อและนามสกุล ของ โดเมนเนม จะต้องไม่ซ้ำกับเว็บไซต์หรือ โดเมนเนม อื่นที่ถูกจดทะเบียนก่อนหน้านี้แล้ว โดเมนเนม ก็คือสิ่งแรกที่แสดงหรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเทอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก ซึ่งสามารถมีได้ชื่อเดียวเท่านั้นทั่วโลก ดังนั้นชื่อโดเมนที่ดี มีความหมาย จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของท่านอาจหมายถึงโอกาสหรือใบเบิกทางที่จะนำ ท่านไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย โดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

1. ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ เช่น bantumweb.com, google.com เป็นต้น
2. ส่วนของนามสกุล ซึ่งเป็นลักษณะการประกอบการของ Website นั้นๆ เช่น .com, .net ฯลฯ

ตารางอัตราค่าบริการ จดโดเมนใหม่ (ต่ออายุโดเมน .com .net .org .info ราคา 450 บาทต่อปี)

gTLDs (Generic Top Level Domains) คือชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย com, net และ org

โดเมนเนม ประเภทผู้ถือครอง ระยะเวลา ราคา / ปี
.com Commercial Organization / ห้างร้านบริษัท 1 – 10 ปี 480 บาท
.net Networking Organization / กิจกรรมเครือข่าย 1 – 10 ปี 480 บาท
.org Non Commercial Org / มูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร 1 – 10 ปี 480 บาท
.biz Business / ห้างร้านบริษัท 1 – 10 ปี 480 บาท
.info Information / เวปไซด์ให้ข้อมูล 1 – 10 ปี 480 บาท
.us ห้างร้านบริษัท หรือ บุคคลทั่วไป (อเมริกา) 1 – 10 ปี 550 บาท
.name ห้างร้านบริษัท หรือ บุคคลทั่วไป 1 – 10 ปี 480 บาท
.ws ห้างร้านบริษัท หรือ บุคคลทั่วไป 1 – 10 ปี 550 บาท
.eu ผู้ขอจดต้องอยู่ในเขตยุโรป (ยูโร) 1 – 10 ปี 550 บาท
.asia ผู้ขอจดต้องอยู่ในเขตเอเชีย-แปซิฟิก 1 – 10 ปี 650 บาท
.in India หรือสามารถอ้างถึง Indivisual บุคคลทั่วไป 1 – 10 ปี 550 บาท
.mobi เว็บไซด์สำหรับแสดงบนมือถือ (Mobile Web) 1 – 10 ปี 750 บาท
.cc ห้างร้านบริษัท หรือ บุคคลทั่วไป 1 – 10 ปี 750 บาท
.tv เว็บไซท์ทีีมีบริการเกี่ยวข้องกับงานโทรทัศน์ 1 – 10 ปี 1,200 บาท

** จดโดเมน .com .net .org .biz .info ไม่ต้องใช้หลักฐานใด ๆ ประกอบการ จดโดเมน ยกเว้นมีการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนม จำเป็นต้องใช้บัตรประชาชนในการเปลี่ยนชื่อ

ccTLDs (Country Code Top Level Domains) คือชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วยอักษรย่อของละประเทศ

โดเมนเนม ประเภทผู้ถือครอง ระยะเวลา ราคา / ปี
.co.th Company / นิติบุคคล ห้างร้านบริษัท 1 – 10 ปี 1200 บาท
.in.th Individual / บุคคลทั่วไป 1 – 10 ปี 550 บาท
.net.th Internet Service Provide / ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต 1 – 10 ปี 1200 บาท
.or.th Non-profit Organization / มูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร 1 – 10 ปี 1200 บาท
.ac.th Academic Organization / สถาบันการศึกษา 1 – 10 ปี 1200 บาท
.mi.th Military Organization / หน่วยงานเกี่ยวกับการทหาร 1 – 10 ปี 1200 บาท
.go.th Government / หน่วยงานราชการ อบต. ส่วนราชการ 1 – 10 ปี 1200 บาท
ทําเว็บบริษัท

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดโดเมน ได้แก่ โดเมนเนม ดังต่อไปนี้

จดโดเมน “.co.th”
co.th เป็น domain สำหรับ การพาณิชย์และธุรกิจ ได้แก่ บริษัท, ห้างหุ้นส่วน และ เครื่องหมายการค้า ซึ่งจะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ ที่จดทะเบียน ในประเทศไทย หรือ บริษัทต่างประเทศ ที่มีตัวแทนอยู่ ในประเทศไทย เอกสาร ที่ใช้ ประกอบการ จดทะเบียนโดเมน คือ หนังสือรับรองบริษัท, ใบ ภ.พ. 20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือ ใบท.ค. 0401/พ.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ หลักฐานการเป็นเจ้าของ เครื่องหมายการค้า Trade Mark นั้นๆ ซึ่งได้ดำเนิน การจดทะเบียน ต่อ กรมทรัพย์สินทางปัญญา อย่างถูกต้อง

จดโดเมน “.ac.th”
.ac.th เป็น domain ที่ใช้แทนชื่อของ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย โดยการตั้งชื่อ ควรให้สอดคล้องกับชื่อ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย นั้นๆ เอกสารที่ใช้เป็น หลักฐาน ในการ จดทะเบียนโดเมน คือ หนังสือจัดตั้ง หน่วยงานการศึกษา โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย กรณีที่ไม่สามารถแสดง หนังสือจัดตั้งโรงเรียน ได้นั้น ท่านจะต้องออก หนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน และรับรองการขอ จดทะเบียนโดเมนเนม พร้อมทั้ง ประทับตรา และเซ็นต์รับรองโดย ท่าน ผู้อำนวยการ ของทางโรงเรียน

จดโดเมน “.go.th”
.go.th เป็น domain สำหรับ หน่วยงานรัฐบาล และ ส่วนราชการ กระทรวง หรือ หน่วยงานสังกัดรัฐบาล ซึ่งจะต้องเป็น หน่วยงาน ของ รัฐบาลไทย หรือ หน่วยงาน/โครงการ ในสังกัด เอกสาร ที่ใช้ในการ จดโดเมน คือ เอกสารคำร้อง ขอ จดทะเบียนโดเมน จาก ผู้บริหาร หน่วยงาน นั้น โดยเป็น หนังสือ ที่ทาง หน่วยงาน แจ้งชื่อ โดเมนเนม xxx.go.th ให้ทาง ผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ของ กระทรวง/กรม ต้นสังกัด รับทราบ

จดโดเมน “.or.th”
.or.th เป็น domain ที่ใช้สำหรับ องค์กรที่ ไม่แสวงผลกำไร เช่น มูลนิธิ สมาคม ชมรม ศูนย์ หรือ สถานทูต ต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เอกสาร ที่ใช้ประกอบการ จดทะเบียนโดเมน หนังสือ จัดตั้งหน่วยงาน เช่น หนังสือ จัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือ จัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น กรณีที่ไม่สามารถแสดง หนังสือจัดตั้งองค์กร ได้นั้น ท่านจะต้องแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริง

จดโดเมน “.mi.th”
.mi.th เป็น domain ที่ใช้สำหรับ หน่วยงานทางทหาร เอกสาร ที่ใช้ประกอบการ จดทะเบียนโดเมน คือ หนังสือรับรอง จาก กรมการสนเทศทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ว่าอนุญาตให้ หน่วยงาน/องค์กร ของท่าน จดทะเบียนโดเมนเนม ภายใต้ .mi.th ได้ โดยสามารถขอแบบฟอร์ม ใบรับรอง ได้จาก สท.ทหาร

จดโดเมน “.net.th”
.net.th เป็น domain ที่ใช้สำหรับ ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ISP) ซึ่งได้รับอนุญาตจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) หรือผู้ได้รับสิทธิ์ในการให้ บริการ จาก ISP โดยมีหนังสือยืนยันการ จดทะเบียนโดเมน จาก ISP นั้น ๆ เอกสาร ที่ใช้ประกอบการ จดทะเบียนโดเมน คือ หนังสือรับรอง จาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย ว่าเป็น ผู้ให้บริการเครือข่าย/อินเตอร์เน็ต (ISP) หรือ หนังสือรับรอง จาก ผู้ให้บริการเครือข่าย/อินเตอร์เน็ต (ISP) ซึ่งรับรอง หน่วยงาน ที่ต้องการ จดทะเบียนโดเมนเนม นี้เป็น หน่วยงาน ย่อยที่ให้บริการทางด้าน เครือข่าย/อินเตอร์เน็ต (sub ISP)

จดโดเมน “.in.th”
.in.th เป็น domain สำหรับ บุคคล บริษัท และ องค์กร ที่ต้องการ จดโดเมนเนม อีกทางหนึ่ง ภายใต้ .th เอกสาร ที่ใช้ ประกอบการ จดทะเบียนโดเมน คือ หนังสือรับรองบริษัท, ใบ ภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ใบ ท.ค.0401/พ.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ หนังสือรับรอง องค์กร สโมสร คลับ ส่วน การ จดโดเมน ในนามบุคคลนั้น ใช้ สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาใบขับขี่ หรือ หนังสืออนุญาตประกอบอาชีพ ของคนต่างด้าว การจดโดเมน .in.th จะไม่อนุญาติให้จดในลักษณะของชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อจังหวัด เป็นต้น

คำแนะนำ

หลักการของการจดโดเมน คือ เป็นชื่อเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำorder_domainname

  • ชื่อโดเมนนั้นสามารถใช้ได้เพียง ตัวอักษร (A-Z) ตัวเลข (0-9) และขีดกลาง () เท่านั้น
  • ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ไม่มีผลต่อชื่อโดเมน เช่น หากคุณจดโดเมน A.com นั่นหมายถึงคุณสามารถเข้า a.com ได้ด้วย
  • ชื่อที่พิมพ์ในช่องตรวจสอบโดเมนไม่ต้องใส่ www. นะคะ เช่น www.bantumweb.com ก็ใส่ bantumweb.com เท่านั้น

สกุลโดเมนที่สามารถจดได้ คุณสามารถเลือกสกุลโดเมนได้ ดังนี้ .com .net .org .biz .info .name (สกุลนอกเหนือจากนี้รบกวนติดต่อทีมงานค่ะ)