ไม่มีหมวดหมู่

ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ภาพประกอบสื่อถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้าความต้องการลูกค้า

ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน คือ

1. การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
2. การคัดเลือกความคิด
3. การทดสอบความคิด
4. การวางกลยุทธ์ทางการตลาด
5. การวิเคราะห์ธุรกิจ
6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
7. การทดสอบตลาด
8. การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

 

1. การสร้างความคิดใหม่

วัตถุประสงค์ของการสร้างความคิดใหม่  ก็เพื่อสร้างความคิดจำนวนมาก
เทคนิคการค้นความคิดใหม่ อาจทำได้โดย การระดมสมอง การสังเคราะห์ความคิดใหม่
การวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการ การเขียนรายการปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้มากที่สุด เป็นต้น

2. การคัดเลือกความคิด

เมื่อได้ความคิดใหม่จำนวนหนึ่งแล้ว ต้องมีการคัดเลือกความคิดเพื่อลดจำนวนความคิดที่มีอยู่ให้เหลือน้อยลง
และน่าสนใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการคัดเลือกความคิด ก็คือ การลดจำนวนความคิดลงให้เร็วที่สุด
เนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องใช้เงินและวัตถุดิบมากมาย ถ้าลดจำนวนความคิดลงก็ช่วยลดทุนได้ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตามการคัดเลือกความคิดต้องระวังการเกิด การละทิ้งความคิดดีๆไป  หรือการนำความคิดที่ไม่ดีมาผลิตสินค้าออกสู่ตลาด

3. การพัฒนาและทอสอบแนวคิด

ความคิดในเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นแนวคิดของผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้และจะได้ประโยชน์อย่างไร ใช้โอกาสไหน
และจากแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ก็จะได้แนวคิดตราสินค้า เมื่อได้แนวคิดแล้ว
ก็จะต้องทำการทดสอบแนวคิดนั้นว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหรือไม่

การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการในทัศนคติของบริษัทเอง เป็นเรื่องที่ง่ายเมื่อเทียบกับ
การออกแบบตามที่ลูกค้าจริงๆ ความต้องการลูกค้าแต่ละคนมีความชอบแตกต่างกัน
ผลิตภัณฑ์ที่พยามยามตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกคน  โดยทั่วไปแล้วก็จะไม่สามารถทำให้ลูกค้าสักคน
รู้สึกประทับใจได้  การทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าโดย พยายามออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ เหมาะกับลูกค้าเป้าหมาย
ก็จะทำให้ SMEs ประสบความสำเร็จแล้ว

4. การวางกลยุทธ์ทางการตลาด

เมื่อแนวคิดได้ผ่านการทดสอบและบริษัทมั่นใจว่าตรงกับความต้องการของลูกค้าเป้าหมายแล้วก็จะต้องมีการวางกลยุทธ์การ
ตลาดที่เหมาะสมโดยประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
– ส่วนแรก  ต้องกล่าวถึงขนาด โครงสร้าง  และพฤติกรรมของตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ยอดขาย
ส่วนแบ่งตลาด  เป้าหมายการทำกำไร
– ส่วนที่สอง ของกลยุทธ์การตลาด ต้องกล่าวถึง  ราคา กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  งบประมารด้านการตลาด
– ส่วนที่สาม  ต้องกล่าวถึง  ยอดขายในระยะยาว  กำไร  และกลยุทธ์ทางการตลาดในระยะยาว

5. การวิเคราะห์ธุรกิจ

หลังจากวางกลยุทธ์แล้ว  ก็จะต้องนำมาประมาณยอดขาย ต้นทุนและกำไร และดูว่าสมควร
ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปหรือไม่ โดยอาจจะใช้ Break – even Analysis ที่จะดูว่าบริษัท
ต้องการขายสินค้ากี่หน่วยจึงจะคุ้มกับต้นทุนกี่หน่วยจึงจะคุ้มกับต้นทุนที่ลงทุนไป หรืออาจใช้การวิเคราะห์ความเสี่ยง
ในการประเมิณก็ได้  โดยดูว่ากำไรจะเป็นอย่างไร  ในกรณีที่แย่ที่สุด ปานกลาง หรือดีที่สุด

6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เป็นการแปรรูปแนวคิดของผลิตภัณฑ์มาเป็นสินค้า
ที่พร้อมจะนำไปทดสอบตลาด  โดยจะเริ่มผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเพียง สัปดาห์
ปี หรือหลายๆ ปีก็ได้

7. การทดสอบตลาด

วัตถุประสงค์ของการทดสอบตลาด ก็เพื่อดูว่าลูกค้าจะตอบสนองต่อสินค้าอย่างไร
และขนาดของตลาดเป็นเท่าใด

8. การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

ถ้าการทดสอบออกมาดี ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดก็เป็นช่วงที่ต้องการเงินลงทุน
สูงสุด โดยจะต้องตอบคำถามเหล่านี้

– เมื่อไหร่?  คือ  ช่วงเวลาที่จะนำสินค้าออกจำหน่าย
– ที่ไหน? คือ  ตลาดที่ใดที่จำสินค้าออกมาจำหน่าย
– ใคร? จะนำสินค้าไปจำหน่ายให้แก่ใครบ้าง
– อย่างไร? จะนำสินค้าไปจำหน่ายอย่างไร

เมื่อการใช้ชีวิตของคนในสังคมเมืองเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัวเล็ก  ในบ้าน  หรืออพาร์ทเม้นท์เล็กๆ
ที่มีเนื้อที่จำกัด  และใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ไม่ค่อยมีเวลาทำอาหารทานเอง ส่วนใหญ่มักซื้อกับข้าวสำเร็จรูป
เพื่อความสะดวกและหุงข้าวทานเอง เพื่อให้ได้ข้าวสุกใหม่ร้อน และน่ารับประทาน

การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ต้องปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค  อย่างหม้อหุงข้าว
ที่มีการพัฒนาออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *